ประวัติการก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ

เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ สนามบิน สถานประกอบการต่างๆ มากมาย มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจสูง และมีการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุนี้ บริษัท ไทยอิโตะอินเทนซีฟว์คอสเซอร์วิส จำกัด จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนไทยอิโตะเทคโนโลยี (พัทยา) ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียน-นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในสายอาชีพเพื่อรองรับกับตลาดแรงงานและก้าวทันในโลกสมัยปัจจุบัน โรงเรียนไทยอิโตะเทคโนโลยี (พัทยา) หรืออีกชื่อ TIT ย่อมาจาก Thai – Itoh Techology College (Pattaya) ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2546 ณ เลขที่ 310/6 หมู่ 6 ถนนสยามคันทรีคลับ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จัดเป็นโรงเรียนสหศึกษาเปิดสอนสายอาชีวศึกษา บนเนื้อที่ 4 ไร่

ผู้เริ่มก่อตั้งโรงเรียน

โรงเรียนไทยอิโตะเทคโนโลยี (พัทยา) ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยบริษัทไทยอิโตะอินเทนซีฟว์คอสเซอร์วิสจำกัด ซึ่งมีคณะกรรมการบริหาร 7 ท่านประกอบด้วย

  1. ศ.ดร.บุญสม มารติน ประธานคณะกรรมการ
  2. นายสุนันท์ ประเสริฐสม กรรมการผู้อำนวยการ
  3. นายไฮโอจิ อิโตะ กรรมการบริหาร
  4. ร้อยเอกชน คุณผลิน กรรมการ
  5. นายมาซาโนบุ อิโตะ กรรรมการ
  6. นายคาซาวุโอะ โอบะ กรรมการ
  7. นางอรษา คุณผลิน กรรมการและเลขานุการ

โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาจากสถาบันของรัฐและเอกชนอาทิ จากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ เทคโนโลยีเกษตรกรรมชลบุรี บริษัทฮอนด้าประเทศญี่ปุ่น สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น โรงเรียนไทยอิโตะภาษาและธุรกิจ โรงเรียนกรุงเทพสากลและคณาจารย์ ที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาที่เปิดสอนได้ให้คำปรึกษาช่วยเหลือด้านวิชาการ ปี พ.ศ. 2544 ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารประกอบด้วยอาคารเรียน 3 ชั้น 1 หลัง อาคารเรียน 2 ชั้น 1 หลัง โรงฝึกงาน 1 ชั้น 1 หลัง แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ 2546 คณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยอิโตะอินเทนซีฟว์คอสเซอร์วิส จำกัด ได้ประชุมแล้วมีมติแต่งตั้งบุคคลเพื่อดำเนินการบริหารโรงเรียนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งประกอบด้วย

  1. ศ.ดร.บุญสม มารติน เป็นผู้รับใบอนุญาต
  2. นายสุรเดช ประเสริฐสม เป็นผู้จัดการ
  3. นายพงศธร ร่วมสุข เป็นอาจารย์ใหญ่

ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2546 เปิดทำการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2546 ใน 2 ประเภทวิชา

“เชี่ยวชาญภาษาและเทคโนโลยี ใฝ่หาความรู้ เก่งคู่คุณธรรม”

วิสัยทัศน์ (Vision)

“ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ก้าวนำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี”

ปรัชญา (Philosophy)

“ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ก้าวนำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้

ทักษะเยี่ยม หมายถึง มุ่งเน้นในการฝึกฝนให้ผู้เรียน เป็นผู้ที่รู้จักคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ ขยันอดทน จนเกิดความชำนาญ

เปี่ยมคุณธรรม หมายถึง ปลูกจิตสำนึกให้แก่นักเรียน – นักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณลักษณะนิสัยที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักการเสียสละแก่สังคม (มีความรู้ ควบคู่คุณธรรม)

ก้าวนำวิชาการ หมายถึง มุ่งเน้นพัฒนาโรงเรียนให้เป็นเลิศทางวิชาการด้านวิชาชีพและภาษาต่างประเทศเพื่อที่ไว้บริการ และให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชน และท้องถิ่น

เชี่ยวชาญเทคโนโลยี หมายถึง มุ่งเน้นพัฒนาโรงเรียนให้เป็นเลิศทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อที่ไว้บริการ และให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชน และท้องถิ่น

เป็นปรัชญาการศึกษาที่วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน-นักศึกษา โดยคณะผู้บริหารโรงเรียนได้ยึดจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาแห่งชาติ ที่กล่าวว่า “การศึกษาคือชีวิตฝึกให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ การศึกษาเป็นชีวิต จิตใจและเป็นสายเลือดของประชาชน” ดังนั้น โรงเรียนจึงมีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยที่คิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม จริยธรรมมีระเบียบวินัย เชิดชูสถาบันเป็นผู้นำทางวิชาการมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อุทิศตนและเสียสละแก่ชุมชน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับท้องถิ่น และเป็นผู้ใฝ่การศึกษาตลอดชีวิตมาเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาของโรงเรียน ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งและเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 จนถึงปัจจุบัน

ยุทธศาสตร์

  1. พัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
  2. ผลิตและพัฒนานวัตกรรมูสิ่งประดิษฐ์ ูงานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ที่นำไปใช้ประโยชน์
  3. พัฒนาครูู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
  4. ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
  6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

พันธกิจ

  1. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์
  2. ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม
  3. ส่งเสริมการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
  4. ส่งเสริมการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬาและนันทนาการ
  5. ส่งเสริมการบริหารและการจัดการสถานศึกษา
  6. ส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  7. สนับสนุนการเงินและงบประมาณของสถานศึกษา
  8. ส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพให้ได้มาตรฐาน